สัดส่วนทองคำ เรื่องที่นักออกแบบควรรู้ไว้ หากเราลองสังเกตสัดส่วนทองทำ จะพบว่าอยู่ในชีวิตประจำวันของเราแทบทั้งสิ้น ซึ่งนักออกแบบทุกคนควรควรรู้จักและศึกษาเอาไว้ใช้ประโยชน์ออกแบบชิ้นงาน
ไม่ว่าจะเป็นอการออกแบบ หรือดีไซน์ <spanhref=”http://www.graphicbuffet.net/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89/”>บรรจุภัณฑ์ งานออกแบบโลโก้ หรือแม้กระทั่งงานออกแบบในแขนงอื่น ๆ ให้ได้สัดส่วนสวยงาม หลายคนคงอาจสงสัยว่าสัดส่วนทองคำนี้คืออะไร วันนี้เรามีคำตอบมาไขข้อข้องใจ
สัดส่วนทองคำคืออะไร
สัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) มาจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อทำให้งานออกแบบนั้นมีสัดส่วนที่งามตามสูตรคำนวณซึ่งคิดค้นโดย เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี ที่ใช้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์มาอธิบายความงามงดงามของธรรมชาติ โดยอัตราส่วนของสัดส่วนทองคำจะเท่ากับ 1 : 1.618
สัดส่วนทองคำมีหลายรูปแบบ เช่น รูปสามเหลี่ยมที่เป็นสัดส่วนทองคำ รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีด้านเท่าสองข้างเท่ากันซึ่งจะตรงกับอัตราส่วน Golden Ratio และสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ
สี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ คือ สี่เหลียมผืนผ้าที่มีอัตราส่วนด้านยาวต่อด้านสั้นเท่ากับอัตราส่วนทองคำนั่นเอง ความพิเศษของสี่เหลี่ยมทองคำ คือ ถ้าเราแบ่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส และส่วนที่สองเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะพบว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าอันเล็ก ที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังคงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ โดยเมื่อแบ่งสี่เหลี่ยมผืนนั้นอีก ก็จะเกิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ ขึ้นใหม่ด้วยวิธีการเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ ซ้ำไปซ้ำมาไม่รู้จบ
สัดส่วนทองคำที่พบเห็นได้ในสัตว์และพืช ตัวอย่างเช่น อัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของเกลียวรอบเปลือกหอยนอติลุส หรืออัตราส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของวงขดเกลียวของเมล็ดทานตะวันแต่ละวงเทียบกับวงถัดไป พบในมนุษย์ ได้แก่ อัตราส่วนของสัดส่วนหน่วยโครงสร้างร่างกายมนุษย์ เช่น ระยะจากหัวถึงพื้นหารด้วยระยะจากสะดือถึงพื้น ระยะจากไหล่ถึงปลายนิ้วมือหารด้วยระยะจากข้อศอกถึงปลายนิ้วมือ หรือระยะจากสะโพกถึงพื้นหารด้วยระยะจากหัวเข่าถึงพื้น เป็นต้น
สัดส่วนทองคำเกี่ยวข้องกับงานออกแบบอย่างไร
สำหรับงานศิลปะและสถาปัตยกรรมจำนวนมากมายก็ใช้สัดส่วนทองคำกำหนดโครงสร้างออกมาได้อย่างสวยงาม อาทิ มหาวิหารพาร์ธีนอน ในเอเธนส์ หรือมหาวิหารน็อตเตอร์ดาม ในปารีส เป็นต้น
ในส่วนของการนำไปใช้ในการออกแบบก็ไม่ยาก เพียงแค่นำ Template Grid ( .EPS / .PSD ) ไปวางบนสุดเลเยอร์ของ Artwork แล้วกลับซ้าย กลับขวา หมุนไปมา เพื่อให้เห็นเส้นแบ่งคอลัมน์ โดยไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องยึดสัดส่วนของเฟรมได้พอดี สำหรับเทคนิคนั้น แนะนำให้เน้นเส้น Grid ด้านในมีความสัมพันธ์ต่อกันตามหลักการนี้ ยึดออกและหดเข้า ได้บ้างอย่างยืดหยุ่น โดยหลักการสำคัญ คือ การใช้ประโยชน์ของเส้น Grid เพื่อกำหนดSpace และ Alignment ของกราฟิกต่างๆ อย่างสมดุล
ลองศึกษากันดูนะคะ เชื่อว่าเมื่อเข้าใจในดครงสร้างของสัดส่วนทองคำแล้ว นักออกแบบทั้งหลายคงได้ไอเดียในการดีไซน์ออกมาอีกเยอะเลยค่ะ