Digital Economy กับ ทิศทางเศรษฐกิจแบบไร้พรมแดน จากนโยบาย การสร้างประเทศไทยเพื่อเข้าสู่ เศรษฐกิจแบบDigital Economy ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของประเทศเข้าสู่ยุคดิจิตอลเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งหนึ่งในการขับเคลื่อนที่สำคัญก็คือ การปรับเปลี่ยนภาครัฐและราชการเข้าสู่ยุค Digital Government หรือที่เราเรียกกันว่ารัฐบาลยุคดิจิตอล ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ให้ประเทศก้าวเข้าสู่ยุคDigital Economyในอนาคตอันใกล้นี้ค่ะ
นโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) คือการนำเอาไอที (IT) หรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ ในการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต รายได้และ เพิ่มผลงานและใช้เวลาน้อยลงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและการบริการต่างๆ เพื่อให้เราแข่งขันกับชาติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคปัจจุบันที่การติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้รับความนิยมในวงกว้างแม้กระทั่งในคนที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตมาก่อนยังหันมาใช้อินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น นอกจากนี้เรายังเห็นได้ว่าอินเตอรืเน็ตสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ และเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ในยุคปัจจุบันก็สามารถรองรับการใช้งานจากอินเตอร์เน้ตได้ โดยไม่จำเป็นว่าจะสามารถเข้าถึงได้จากคอมพิวเตอร์หรือแลปท้อปเท่านั้น แต่สามารถเข้าอินเตอรืเนตได้จากทุกพื้นที่เพียงแค่คุณมีมือถือหรือแท็ปเล็ตค่ะ ดังนั้นทำให้เกิดธุรกิจออนไลน์ใหม่ๆผุดขึ้นมาอย่างมากมาย
การที่ประเทศของเราจะก้าวเข้าสู่นโยบายDigital Economy ได้นั้นจึงมีความจำเป็นในการเตรียมตัวให้พร้อมในระดับประเทศกับการมาถึงของยุค S-M-I-C หรือ Social–Mobile–Cloud–Information เพื่อปรับโครงสร้างทางพื้นฐานทางดิจิทัลให้รองรับข้อมูลข่าวสารอันมากมายได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะเป็นยุคแห่ง IoT (Internet of Things) ที่กำลังเข้ามามีบทบาทกับเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก เพราะอินเตอร์เน็ตได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิต ไลฟ์สไตลื และเข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้าขายอย่างชนิดที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน โดยผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที กฎกติกาและกฎหมาย การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการปรับวิสัยทัศน์และทัศนคติของประชาชนที่พร้อมจะเดินทางเข้าสู่ยุคแห่งดิจิทัลโดยพร้อมเพรียงกัน ซึ่ง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ Digital Economyนั้นจะอำนวยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคต่างๆนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีมูลค่าสูงยิ่งขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังสนับสนุนความแข็งแกร่งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดอันเนื่องมาจาก การมีข่าวสารข้อมูลที่กว้างขวางยิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ
ซึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขึ้นโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีคณะกรรมการเฉพาะด้านทำหน้าที่คอยช่วยเหลือคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยชี้นำทิศทางของการพัฒนาให้แก่หน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ และกำหนดนโยบายสนับสนุนด้านการสร้างนวัตกรรม (Innovation) สร้างแรงจูงใจ และ(Incentive) และช่วยจัดหาตลาดให้แก่เอกชน ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายเล้กหรือรายใหญ่ เพื่อร่วมกันสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง และพัฒนาคนไทยที่มีความสามารถให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์นั่นเอง
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยDigital Economy นี้ในอนาคตจะก่อให้เกิดการสร้างข้อมูลในปริมาณสูงจากผู้ใช้งานซึ่งจำเป็นต้องมีการป้องกันอันตรายในโลกออนไลน์ (cyber security) ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ปัจจุบันการสร้างข้อมูลใหม่ๆ บนโลกออนไลน์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลกโดยเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 40% ต่อปี โดยมีแรงผลักดันจากกิจกรรมบน Digital Economyเป็นสำคัญ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ย่อมรวมถึงข้อมูลส่วนตัวที่มีความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรมทางอินเตอร์เน็ต ภาครัฐจึงได้เข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นให้ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์เห็นถึงความสำคัญและเพิ่มการคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ และร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมในการสร้างมาตรการป้องกันการแฮกข้อมูล เช่น การเข้ารหัสข้อมูล หรือ การป้องกันระดับโครงข่าย เป็นต้นค่ะ
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีการนำเอาไอที หรือเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานเป็นการเปิดกว้างทางเสรีภาพแห่งการค้าขาย ทั้งนี้จึงมั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัดแต่อย่างไรก็ตามเราคงต้องเตรียมพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการใช้อินเตอรืเนตเพื่อการค้าและเกี่ยวกับกฎหมายพาณิชยือิเลคโทรนิคอีกด้วย อดใจรอกันไม่นานเราจะก้าวสู่ยุคใหม่แห่งยุคดิจิตอลกันแล้วค่ะ
โดย..เจ้าน้อย..