ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาด้วย GOOGLE WEBMASTER TOOLS
สวัสดีครับ หลังจากบทความที่แล้วผมได้พาทำความรู้จักกับเจ้า Google Analytics ไปแล้ว คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้า Google Webmaster Tools กันบ้างนะครับ ถ้าจะให้เปรียบเทียบระหว่าง Google Analytics กับ Google Webmaster Tools แล้วล่ะก็ผมว่า ความเหมือนของ 2 เครื่องมือนี้ก็คือ การวิเคราะห์ แหละครับ แต่ความแตกต่างกันก็คือ เจ้า Google Analytics จะเน้นทางด้านการวิเคราะห์สถิติของผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นหลัก ส่วนเจ้า Google Webmaster Tools จะเน้นในการวิเคราะห์ปัญหาของเว็บไซต์ของเราเป็นหลักครับผม
ประโยชน์ของ Google Webmaster Tools
1.ช่วยโปรโมทเว็บแบบ SEO โดยตรงกับ Google
2.ลงทะเบียนเว็บไซต์โดยตรงกับ Google
3.สามารถดูสถิติผู้เข้าชมเว็บ
4.มีรายละเอียดสถิติการเข้าเว็บแต่ละหน้าพร้อมระบุจำนวนที่คลิก
5.ช่วยในการประเมิน วิเคราะห์ความสำเร็จของเว็บได้ในระดับหนึ่ง
6.สมัครเพียงครั้งเดียวแล้วสามารถใช้ลงทะเบียนกี่เว็บก็ได้
ต่อมาเราไปดูหน้าตาและการทำงานของเจ้า Google Webmaster Tools กันดีกว่าครับ
[กรอบสีน้ำเงิน] แสดงเมนูในการทำงานต่างๆ Google Webmaster Tools จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
- [กรอบสีดำ] แสดงสถานะหรือข้อผิดพลาดในการเชื่อมต่อ ทั้งในส่วนของ DNS และการใช้ Robot.txt
- [กรอบสีแดง] แสดงคำค้นหา (Keyword) พร้อมวิเคราะห์การแสดงผลต่างๆ
- [กรอบสีเขียว] แสดงข้อมูล Sitemap ของเว็บไซต์ ว่ามีจำนวนกี่หน้า Google ทำการวิเคราะห์ไปแล้วกี่หน้า
ต่อมาจะเป็นส่วนของเมนู ปริมาณการค้นหา ซึ่งจะมีเมนูย่อย 4 เมนูดังนี้
1.คำค้นหา – วิเคราะห์ คำค้นหา(Keyword) ต่างๆ
2.ลิงค์ไปยังไซต์ของคุณ – วิเคราะห์ Backlink
3.ลิงค์ภายใน – วิเคราะห์ลิงค์ภายในเว็บไซต์ของเรา
4.การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่
[กรอบสีแดง] แสดงข้อมูลคำค้นหาต่างๆ
[กรอบสีดำ] เลือกวันที่ ที่จะใช้ในการวิเคราะห์ (ตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ถึงวันที่เท่าไหร่)
[กรอบสีเขียว] ปุ่มดาวน์โหลดตารางและแผนภูมิมาไว้บนเครื่องของเรา
มาต่อในส่วนของ ดัชนี Google ครับ ภายในเมนู ดัชนี google จะมีเมนูย่อยๆ 3 เมนูด้วยกัน ในส่วนนี้ คำหลักของเนื้อหา ซึ่งจะเป็นส่วนที่บอกคำค้นหา(Keyword)ภายในเว็บไซต์เรา โดยจะทำการเรียงลำดับความสำคัญ สามารถนำไปวิเคราะห์ความสำคัญของคำค้นหาต่อไปได้
ส่วนต่อมาจะเป็นส่วนของ ภาพรวมของข้อมูล ซึ่งจะมีเมนูย่อย ดังนี้
1.ข้อผิดพลาดในการรวบรวมข้อมูล – บอกข้อผิดพลาดในการเชื่อมต่อในแต่ละหน้าพร้อมรหัส เช่น Error404 เป็นต้น
2.สถิติการรวบรวมข้อมูล – แสดงกราฟสถิติต่างๆ เช่น สถิติการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ต่อวัน เป็นต้น
URL ที่ถูกล็อค – เป็นเมนูที่ใช่วิเคราะห์ปัญหาของ Robot ว่าเว็บไซต์ของเรานั้นมีหน้าไหนบ้างที่ Robot เข้าถึงไม่ได้ และสามารถที่จะเขียน Robot.txt ลงไปเพื่อทดสอบการทำงานของ Google Bot ได้อีกด้วย
Sitemap – ทำการยืนยัน Sitemap หลังจากนั้น Google Bot จะทำการวิเคราะห์และจัดทำดัชนีภายในเว็บไซต์
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับเจ้า Google Webmaster Tools ไปกันพอสมควรแล้ว พอทราบกันแล้วว่าเจ้า Google Webmaster Tool ที่เป็นบริการฟรีจาก Google เหมาะสำหรับใครก็ตามที่อยากจะตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆของเว็บไซต์เรา เป็นเครื่องมือช่วยเหลือเจ้าของเว็บไซต์ เพื่อปรับปรุงให้เว็บไซต์ติดอันดับผลการค้นหาบน Google ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยแนะนำแนวทางเว็บไซค์ให้มีโครงสร้างที่ถูกต้องตามหลักของ Google ผมหวังว่าทุกคนคงจะเห็นความสำคัญในการใช้ Google Webmaster Tool เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลของเว็บไซต์ เพื่อนำไปปรับใช้และพัฒนาเว็บไซต์ของเราให้ดียิ่งขึ้นต่อไปครับ
By…ITLocal