ชนิดและรูปแบบไฟล์ JPG / GIF / PNG แตกต่างกันอย่างไร กราฟิกไฟล์ เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการออกแบบและสร้างสรรค์ เพราะให้ความสะดวก รวดเร็ว แก้ไขงาน หรือทำซ้ำงานก็ทำได้ง่ายดายค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นการสั่งพิมพ์ หรือบันทึก เพื่อการพกพาในรูปแบบอื่นๆได้หลายวิธี <spanhref=”http://www.graphicbuffet.net/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87/”>การใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิก และเว็บไซต์ต่าง ๆ จึงนิยมใช้งานกราฟิก เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ เพราะสามารถที่จะช่วยในการสื่อความหมาย ระหว่างผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้ซึ่งเป็นการสื่อสารที่เข้าใจง่ายและถูกต้องในเวลาอันสั้นคะ
ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ
ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) เป็นไฟล์ชนิดบิดแมต ที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐาน ใช้เมื่อต้องการไฟล์ขนาดเล็ก ที่มีจำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก เพราะดาวน์โหลดได้รวดเร็ว เหมาะกับงานที่ต้องการไฟล์ภาพขนาดเล็ก ต้องการพื้นแบบโปร่งใส แสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด งานที่ใช้สีแบบ solid color เช่น โลโก้ภาพ หรือภาพเคลื่อนไหวที่เราเห็นกัน แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถแสดงสีได้สูงสุดเพียง 256 สีเท่านั้นคะ
ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) เป็นไฟล์ที่นิยมใช้บน Internet ซึงจะใช้ใน ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit color) ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้ แต่ยังคงรายละเอียดของภาพได้ดี เพราะสามารถเก็บความละเอียดสูงได้โดยใช้ขนาดไฟล์ที่เล็ก มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง แต่มีข้อเสียคือ ทำพื้นของให้รูปโปร่งใสไม่ได้ และเมื่อมีการส่งภาพจาก Server ต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์ ทำให้แสดงผลช้ามาก เมื่อส่งไปแสดงผลที่ Client
ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics) เป็นไฟล์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนไฟล์ GIF และไฟล์ JPG ในอนาคต นิยมใช้ในการแสดงผลบนเว็บไซต์ มีการบีบอัดได้โดยไม่สูญเสียคุณภาพ มีขนาดที่เล็ก สามารถทำพื้นหลังโปร่งใสได้(Transparency) หรือทำให้มีพื้นหลังก็ได้ สนับสนุนสีตามค่า True color ได้ มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปจนละเอียด ส่วนใหญ่จะใช้เป็นไอคอนเมนู บนหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ข้อเสียคือ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card และโปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
เป็นยังไงกันบ้างละได้ทำความรู้จัก กับกราฟิกไฟล์สำหรับเว็บไซต์ กันแล้วนะคะ น่าจะเป็นข้อมูลที่ทำให้นักออกแบบเว็บไซต์มือใหม่สามารถนำไปใช้งาน ตามความเหมาะสมดูนะคะ
โดย..เจ้าน้อย..