Chrome เวอร์ชั่นล่าสุด แจ้งเตือนหากร้านค้าออนไลน์ ที่เรากำลังสั่งจ่ายเงินไม่มีความปลอดภัย


เนื่องจากร้านค้าออนไลน์ ได้ผุดขึ้นมาอย่างมากมาย เพราะความง่าย และสะดวกในการช้อปปิ้ง ในการชำระเงินค่าสินค้า ส่วนใหญ่มักจะต้องชำระผ่าน Paypal หรือไม่ก็บัตรเครดิต เพื่อยืนยันว่าเว็บที่กำลังใช้งานอยู่เป็นเว็บของจริง และมีการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งานอยู่ ว่าไม่ใช่เว็บปลอมที่ทางแฮกเกอร์สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกโจรกรรมข้อมูล เว็บร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่จะมีการเข้ารหัสระบบรักษาความปลอดภัยเอาไว้ (HTTPS)  เพราะหากไม่ได้ตรวจสอบ HTTPS ก่อนจ่ายเงิน ก็ทำให้เรามีความสุ่มเสี่ยงที่จะโดนล้วงข้อมูลธุรกรรมทางการเงินไปได้ค่ะ

 

 

Google Chrome  เวอร์ชั่นล่าสุดนี้ จะช่วยให้เราช้อปปิ้งผ่านร้านค้าออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย ด้วยการเพิ่มระบบแจ้งเตือนผู้ใช้ เมื่อเราพยายามจะใส่รหัสผ่านหรือเครดิตการ์ดผ่านหน้าเว็บที่ไม่มีการเข้ารหัส HTTPS ว่า “ไม่รับรองความปลอดภัย”ในขณะที่เรากำลังสั่งจ่ายเงิน ในการทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างไม่มีปัญหา  โดย Google ได้ให้คำแนะนำด้านความปลอดภัย ในการช้อปปิ้ง ผ่านร้านค้าออนไลน์ ดังนี้คะ

ข้อเสนอดูดีเกินจริง ข้อเสนอดังกล่าวมักจะไม่ใช่เรื่องจริงค่ะ และเว็บไซต์นั้นอาจขายผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ เพราะบางเว็บไซต์ที่ขายผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบจะเลียนแบบเว็บไซต์ของเจ้าของแบรนด์โดยการจำลองรูปแบบและใช้รูปภาพที่คล้ายกัน หรือใช้ชื่อโดเมนที่มีชื่อแบรนด์

หาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายที่ไม่คุ้นเคย  ผู้ขายควรระบุข้อมูลติดต่อที่คุณสามารถอ้างอิงได้ เว็บไซต์หลายแห่งที่ขายผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ จะมี URL ที่ดูเหมือนร้านทางการ ซึ่งการตรวจสอบระเบียน WhoIs ของเว็บไซต์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจเปิดเผยเจ้าของโดเมนได้

ใช้วิธีการชำระเงินที่มีการปกป้องผู้ซื้อ  ส่วนมากบริษัทบัตรเครดิตจะจำกัดความรับผิดของคุณ สำหรับการซื้อสินค้าทางออนไลน์ในกรณีที่มีการประพฤติมิชอบ ระบบการชำระเงินออนไลน์บางส่วนจะไม่แชร์หมายเลขบัตรเครดิตที่สมบูรณ์ของคุณกับผู้ขายเพื่อปกป้องคุณเพิ่มเติมนั่นเองคะ

อ่านเงื่อนไขต่างๆ ก่อนจะซื้อสินค้า ควรอ่านนโยบายการจัดส่ง การรับประกัน และการคืนสินค้าของผู้ขาย

ก็บหลักฐานธุรกรรมเอาไว้  การมีสำเนาดิจิทัลหรือสำเนาฉบับพิมพ์ของธุรกรรมที่มีมูลค่ามากอาจเป็นประโยชน์ต่อการคืนสินค้าหรือโต้แย้งการเรียกเก็บเงินที่ไม่ได้รับอนุญาตที่เกิดขึ้นในบัญชีของคุณ

หลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ถูกแฮ็กและตรวจสอบแถบที่อยู่เว็บของเบราว์เซอร์ให้ดี  การตรวจสอบแถบที่อยู่เว็บให้ดีเพื่อดูว่าลิงก์ที่คุณคลิกเป็นลิงก์ปลายทางที่ถูกต้อง

พิมพ์ที่อยู่เว็บที่สำคัญลงในแถบที่อยู่เว็บของเบราว์เซอร์เอง ให้พิมพ์ที่อยู่เว็บเองแทน โดยอย่าเข้าไปยังบัญชีที่สำคัญโดยคลิกลิงก์หรือคัดลอกและวางที่อยู่เว็บ และตรวจสอบว่าได้ป้อนข้อมูลที่อยู่เว็บอย่างถูกต้อง เพราะเว็บไซต์ที่มีชื่อโดเมนคล้ายกันจะมีลักษณะเหมือนเว็บไซต์ของแท้ทุกประการ แต่มีการสร้างขึ้นเพื่อทำการฟิชชิงข้อมูลบัญชีของคุณ

หลีกเลี่ยงการป้อนข้อมูลส่วนบุคคลบนเว็บไซต์ที่น่าสงสัย  เว็บไซต์บางส่วนอาจเป็นสำเนาที่ไม่ถูกต้องของเว็บไซต์ทางการ ซึ่งรวมถึงโลโก้และข้อความ แต่สร้างขึ้นโดยผู้ฉ้อฉลเพื่อเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ

ตรวจสอบว่ารหัสผ่านมีประสิทธิภาพ อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันกับหลายบัญชี และควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ โดยเฉพาะเวลาที่คุณสงสัยว่าบัญชีอาจมีความเสี่ยงได้

ส่งข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยเท่านั้น  เมื่อเข้าถึงบัญชีการเงิน ควรตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีใบรับรองความถูกต้องโดยองค์กรที่ดำเนินการเว็บไซต์ดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว โดยครอบคลุม  URL หรือชื่อเว็บไซต์ควรแสดงขึ้นเป็นสีเขียวในแถบ URL

หลีกเลี่ยงการดำเนินการธุรกรรมการเงินบนคอมพิวเตอร์สาธารณะ หากต้องเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ต้องออกจากระบบอย่างสมบูรณ์ และปิดหน้าต่างเบราว์เซอร์เมื่อดำเนินการเสร็จ

โปรดตรวจสอบว่าคุณได้รับสิ่งที่คุณจ่ายเงินซื้อ เมื่อได้รับสินค้าแล้ว เราต้องตรวจสอบอย่างรวดเร็วโดยทันทีเพื่อดูว่าทุกอย่างเรียบร้อยดีอย่างที่เราต้องการ

 

Comments

comments


Like it? Share with your friends!

1 SHARES
577
1 SHARES, 577 points

Chrome เวอร์ชั่นล่าสุด แจ้งเตือนหากร้านค้าออนไลน์ ที่เรากำลังสั่งจ่ายเงินไม่มีความปลอดภัย

log in

Captcha!

reset password

Back to
log in
Choose A Format
Personality quiz
Trivia quiz
Poll
Story
List
Open List
Ranked List
Meme
Video
Audio
Image