ชนิดของไฟล์ ที่ใช้ในงานกราฟิกดีไซน์ควรเป็นไฟล์ชนิดใด ชนิดของไฟล์ที่ใช้ใน<spanhref=”http://www.graphicbuffet.net/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89/”>งานกราฟิกดีไซน์มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ซึ่งไฟล์แต่ละแบบจะมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไป ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่าไฟล์ที่ใช้ในงานกราฟิกดีไซน์ประกอบด้วยไฟล์อะไรบ้าง
ไฟล์สำหรับงานพิมพ์
- TIFF ย่อมาจากคำว่า Tagged Image File Format เป็นไฟล์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรูปภาพชนิดคุณภาพสูงซึ่งโดยมากมักจะเป็นงานสิ่งพิมพ์เพราะไฟล์ภาพแบบ TIFF จะมีขนาดใหญ่ คุณภาพสูงและมีความละเอียดคมชัด สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง Mac และ PC
- PDF เป็นไฟล์สำหรับงานเอกสาร อย่างเช่น แคตตาล็อก,โบรชัวร์ และไฟล์เอกสารที่ประกอบไปด้วยตัวหนังสือจำนวนมาก ซึงไฟล์ PDF มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เช่น Acrobat TouchUp Image ซึ่งเป็นไฟล์ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยโปรแกรม Adobe Acrobat,Photoshop PDF เป็นไฟล์ที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม Photoshop และ Generic PDF ที่สร้างขึ้นมาจากโปรแกรม Illustrator ที่สร้างไฟล์ออกมาเป็น Bitmap หรือ Raster
- EPS เป็นไฟล์รูปภาพกราฟิกที่ใช้การจัดหน้าแบบ PostScript ที่มีข้อจำกัดก็คือ จะต้องพิมพ์ออกมาด้วยเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น EPS เป็นไฟล์ที่สามารถใช้เก็บไฟล์รูปภาพที่มีรายละเอียดสูงๆและมีความซับซ้อนมากได้ โดยสามารถแบ่งออกได้สองประเภทคือ Photoshop EPS ที่มีการเก็บข้อมูลรูปภาพทั้งแบบ Vector และ Bitmap สามารถเปิดและแก้ไขได้ด้วยโปรแกรม Illustrator และ Adobe Dimension และ EPS PICT Preview หรือ EPS TIFF ซึ่งเป็นไฟล์รูปภาพที่ใช้สำหรับแสดงตัวอย่าง
ไฟล์สำหรับงานเว็บไซต์
- JPG หรือ Joint Photographic Experts Group เป็นไฟล์ภาพที่ได้รับการบีบอัดเพื่อลดขนาดของภาพที่ทำให้สามารถโหลดได้เร็วขึ้น เพราะภาพมีขนาดเล็ก ซึ่งการบีบอัดภาพให้มีขนาดเล็กแบบ JPG จะไม่สามารถเรียกคืนค่าความละเอียดที่ถูกตัดทิ้งคืนมาได้ ดังนั้นหากจะเก็บไฟล์ภาพต้นฉบับ ควรเลือกเก็บเป็นไฟล์แบบอื่นที่ไม่ใช่ JPG
- GIF หรือ Graphic Interchange Format มักใช้เก็บภาพที่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งไฟล์ .GIF จะมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการใช้งานบนเว็บไซต์ แต่ข้อจำกัดของไฟล์ชนิดนี้คือ มีสีที่สามารถเก็บได้อย่างจำกัดไม่เกิน 256 สี จึงเหมาะสำหรับงานภาพโลโก้ หรือภาพที่มีสีแบบ Solid Colorรวมถึงภาพแบบ Illustration
- PNG เป็นไฟล์รูปภาพที่เหมาะสำหรับการใช้งานบนเว็บไซต์ ซึ่งไฟล์ PNG จะมีขนาดของภาพที่ใหญ่กว่า JPG ซึ่งหมายความว่าความคมชัดและความละเอียดของภาพจะมีมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพที่เป็นลายเส้นกราฟิกต่างๆจะมีความคมชัดมาก
ไฟล์ภาพเหล่านี้เป็นไฟล์ภาพที่ใช้กันทั่วไปในงานกราฟิกไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์หรืองานเว็บไซต์ ซึ่งการเลือกใช้ไฟล์ภาพที่เหมาะสมจะช่วยให้งานออกมาดี และมีความคมชัดอย่างที่ต้องการ