แชร์เพลง Youtube ลงเฟสบุ๊คอย่างไรไม่ให้ผิดพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ 58


แชร์เพลง Youtube ลงเฟสบุ๊คอย่างไรไม่ให้ผิดพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ 58 คงทราบกันดีแล้วนะคะว่าการแชร์เนื้อหาสาระ การแชร์ข่าวผ่าน social network เช่น Line , facebook , youtube หรือแม้กระทั่ง การใช้ภาพและวีดีโอ จากทางอินเทอร์เน็ต หรือทาง Social Network นั้น ล้วนมีลิขสิทธิ์ หากคุณแชร์โดยไม่รู้กฎหมายลิขสิทธิ์ คุณก็มีสิทธิที่จะถูกฟ้องร้อง และอาจถูกทั้งจับคุกและปรับได้ นับว่ากระแสตื่นตัวในเรื่องของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์นั้นมีค่อนข้างมาก หลายคนเป็นผู้ใช้ เป็นผู้โพสต์ และหลายคนเป็นผู้แชร์ แต่จะโพสต์ จะแชร์อย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ โดยเฉพาะการไปโหลดเพลงประกอบจาก Youtube ที่การโพสต์ของคุณ ต้องโดนบล็อกเพราะดันไปติดลิขสิทธิ์ นั่นเองคะ

กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558  มีความเข้มข้นด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ที่คนทำเว็บและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในโลกออนไลน์ ต้องระมัดระวัง โดย พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ 58 มีเป้าหมายเท่าที่ศึกษาดูนั้น เน้นไปที่ควบคุมดูแลลงโทษ มือแชร์ภาพ-ข้อความที่สร้างความเสียหายแก่สังคมหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ตัดแต่งภาพ นำภาพ-ข้อความไปใช้โดยไม่ให้เครดิตหรืออ้างอิงแหล่งที่มา ซึ่งส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปยังการนำภาพหรือข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากงานสร้างสรรค์ทางสติปัญญาของตน เพื่อเป็นการตอบแทนความคิดสร้างสรรค์ของเจ้าของลิขสิทธิ์และก่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ

กรมทรัพย์สินทางปัญญา

จะใช้เพลงจาก YouTube อย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ปี 58 คงเป็นคำถามที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตหลายคนอยากจะรู้นะคะ  ซึ่งการเผยแพร่คลิปวิดีโอที่อยู่บนเว็บไซต์ YouTube ในปัจจุบัน โดยการแชร์ หรือนำลิงค์ไปโพสต์ในโซเซียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค หรือ ทวิตเตอร์  ผู้แชร์หรือโพสต์จะให้เครดิตผู้สร้างสรรค์ หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างเดียวไม่พอ เพราะต้องพิจารณาเกณฑ์การพิจารณาทั้ง 4 ข้อ ของ Fair use (การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ) ให้ควบคู่ไปด้วยกันทั้งหมดด้วย ดังนี้ค่ะ

วัตถุประสงค์และลักษณะของการใช้งานลิขสิทธิ์ จะต้องไม่ใช่ในลักษณะกระทำเพื่อการค้าหรือหากำไร เช่น นำเพลงไปทำเทปเพลง หรือขายแก่บุคคลทั่วไปในลักษณะการทำเพื่อการค้า,จะต้องอ้างอิงที่มา,ใช้เพื่อประโยชน์ของสังคม

ลักษณะของงานอันมีลิขสิทธิ์ คือคำนึงถึงระดับของการสร้างสรรค์ ถ้าเป็นงานที่ต้องใช้จินตนาการมาก เมื่อผู้อื่นนำงานไปใช้จะถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรมมากกว่างานลิขสิทธิ์ที่เป็นข้อเท็จจริง และไม่ควรใช้กับงานที่ยังไม่มีการโฆษณา

ปริมาณและเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญของงาน คือต้องไม่ใช้มากเกินไป หรือใช้น้อย แต่ใช้ในส่วนที่เป็นหัวใจของเรื่อง ไม่ได้

คำนึงถึงผลกระทบต่อการตลาดหรือมูลค่าของงานลิขสิทธิ์ เช่น ทำให้งานของเจ้าของลิขสิทธิ์ขายไม่ได้

ดังนั้นการแชร์อะไรต่างๆนานาบนโลก social Media ก็ให้ใส่เครดิตให้เจ้าของหรือผู้โพสต์ไว้ด้วย เช่น แชร์เพลงจากยูทูบ ต้องใส่ชื่อ user youtube และลิงก์ url เอาไว้ด้วย ทั้งนี้การเผยแพร่คลิปวิดีโออาจจะมีเจตนาเพื่อเป็นการ     โปรโมทข้อมูลข่าวสาร แต่หากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่เข้าใจในเจตนาของเรา เขาก็มีสิทธิ์ฟ้องร้องเราได้ในฐานะที่เขาเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานเหล่านั้น ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการกระทำในข้างต้นดีที่สุด เพื่อความปลอดภัย ซึ่งหากเป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อ ก็สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ค่ะ

โดย..เจ้าน้อย..

 

 

Comments

comments


Like it? Share with your friends!

47 SHARES
480
47 SHARES, 480 points

แชร์เพลง Youtube ลงเฟสบุ๊คอย่างไรไม่ให้ผิดพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ 58

log in

Captcha!

reset password

Back to
log in
Choose A Format
Personality quiz
Trivia quiz
Poll
Story
List
Open List
Ranked List
Meme
Video
Audio
Image